ครั้งที่ 3
วันพฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
💦 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ💦
👉ทฤษฎีพัฒนาการ
💨พัฒนาการทางศิลปะของ
โลเวนเฟลด์
(Lowenfeld
👉ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
💨ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
(Guilford)
💨ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
(Torrance)
💨ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
💨ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
(Gardner)
💨ทฤษฎีโอตา (Auta)
ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ตัวประกอบของสติปัญญา
💢เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
💢ความมีเหตุผล
💢การแก้ปัญหา
😽 ความสามารถของสมอง 😻
กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
😙 มิติที่ 1 เนื้อหา
มิติเกี่ยวกับ
ข้อมูล หรือ สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด
สมอง
รับข้อมูลเข้าไปคิด พิจารณา 4 ลักษณะ
💧ภาพ
💧สัญลักษณ์
💧ภาษา
💧พฤติกรรม
😬 มิติที่ 2 วิธีการคิด
มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน
5
ลักษณะ
👐การรู้จัก การเข้าใจ
👐การจำ
👐การคิดแบบอเนกนัย (คิดได้หลายรูปแบบ หลากหลาย)
👐การคิดแบบเอกนัย (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
👐การประเมินค่า
😐มิติที่ 3 ผลของการคิด
มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่ 1
+
มิติที่ 2 มี 6
ลักษณะ
💫หน่วย
💫จำพวก
💫ความสัมพันธ์
💫ระบบ
💫การแปลงรูป
💫การประยุกต์
💦ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
นักจิตวิทยาและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง ชาวอเมริกัน เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า
ประกอบด้วย
- ความคล่องแคล่วในการคิ
- ความยืดหยุ่นในการคิด
- ความริเริ่มในการคิด
💋แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์
เป็น 5 ขั้น
- ขั้นการค้นพบความจริง
👉เป็นขั้นเริ่มต้น ค้นหาสาเหตุ ในการทำงานเริ่มแรก ต้องมีการคิดค้น หรือหาข้อมูลต่างๆ
จะเกิดความรู้สึกกังวล สับสน วุ่นวาย แล้วค่อยๆปรับตัว พยายามคิดหาสาเหตุ
ว่าสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้น คืออะไร
-ขั้นการค้นพบปัญหา
👉เป็นขั้นที่สามารถคิดได้
และ เกิดความเข้าใจแล้วว่า
ปัญหาคืออะไร
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
👉เมื่อรู้ปัญหาว่าคืออะไรจากขั้นที่
1 และ
ขั้นที่ 2 แล้วก็พยายามคิดแก้ปัญหา หาทางออกโดย
การตั้งสมมุติฐาน
- ขั้นการค้นพบคำตอบ
👉เป็นการค้นพบคำตอบจากการตั้งสมมุติฐาน ด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย
- ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
👉ค้นพบว่าสมมุติฐานที่ทดสอบไปในขั้นที่
4 นั้นได้ผลเป็นอย่างไร สรุปว่าสมมุติฐานใดคือ
การแก้ปัญหาหรือทางออกที่ดีที่สุด
💦ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ
เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
การทำงานของสมองสองซีก
ทำงานแตกต่างกัน
สมองซีกซ้าย 👉 ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา 👉 ทำงานส่วนจินตนาการ
และความคิดสร้างสรรค์
✋แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีก
ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาการจัดการศึกษา
-
ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ
- มีการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
หรือ 4 MAT
- มีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย
💦ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกั แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
💨ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา
💨ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา
( ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ )
👊ทฤษฎีพหุปัญญา
จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่
- ความสามารถด้านภาษา
-
ความสามารถด้านตรรกวิทยาแลคณิตศาสตร์
- ความสามารถด้านดนตรี
-
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
-
ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
-
ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
- ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
-
ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
💦ทฤษฎีโอตา (Auta)
👍เดวิส
(Davis) และซัลลิแวน
(Sullivan) ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่
การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
💖 พัฒนาการทางศิลปะ 💖
วงจรของการขีดๆเขียนๆ
👏 เคลล็อก
(Kellogg) ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย
และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอนทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก
4 ขั้นตอน
มีดังนี้ ขั้นขีดเขี่ย ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
ขั้นที่ 1
ขั้นขีดเขี่ย
(placement
stage)
•เด็กวัย
2 ขวบ
•ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
•ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง
โค้งบ้าง
•ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
(shape stage)
•เด็กวัย 3 ขวบ
•การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
•เขียนวงกลมได้
•ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ
(design stage)
•เด็กวัย
4 ขวบ
•ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
•วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
•วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
(pictorial stage)
•เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
•เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
•รับรู้ความเป็นจริง
เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
•ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
•วาดสามเหลี่ยมได้
💦พัฒนาการด้านร่างกาย
ต่างๆได้กีเซลล์และคอร์บินสรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยตามลักษพฤติกรรม
ทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
💓ด้านการตัด
- อายุ
3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
- อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
- อายุ
5-6 ปี
ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่าง
💓การขีดเขียน
- อายุ 3-4 ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
- อายุ
4-5 ปี
เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
- อายุ
5-6 ปี
เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
💓การพับ
-
อายุ 3-4 ปี พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
- อายุ
4-5 ปี
พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
- อายุ
5-6 ปี พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
💓การวาด
- อายุ 3-4 ปี
วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
- อายุ 4-5 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
ตนเอง : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังและทำงานที่อาจารย์ได้หมอบหมายงานให้ทำ
เพื่อน : เพื่อนตั้งใจและทำงานที่ได้รับหมอบหมาย จัดนิทรรศการ
อาจารย์ : อธิบายแนวการสอนและบอกเนื้อหาละเอียดได้เข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น